แคนตอนที่ 1
ในตอนนี้มารู้จักแคนกันก่อนครับ
ผู้เข้าชมรวม
771
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
"แคน"
เครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก
ศาสตราจารย์ ดร.
"เมื่อตอนที่ผมอยู่นิวยอร์คนั้น ผมได้พบกับศาสตราจารย์ผู้หนึ่งซึ่งสนใจในการค้นคว้าเรื่องประวัติดนตรีมาก เขาบอกว่าได้พบเครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลกแล้ว มีลักษณะเป็นกระบอกไม้ไผ่หลายกระบอก เอามาผูกมัดเรียงกันเข้าไป ในแต่ละกระบอกมีลิ้นโลหะ ถ้าเป่าลมเข้าไปในกระบอก ให้ลมผ่านลิ้นนี้แล้วจะเกิดเป็นเสียงดนตรีขึ้น เขาว่าได้พบและเชื่อแน่ว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นดนตรีโบราณที่สุด แล้วเขาก็พยายามจินตนาการวาดรูปมาหลายรูปตามที่คาดคิดว่า ของจริงคงจะมีรูปร่างลักษณะอย่างนั้น ผมดูแล้วขำแทบตาย เพราะรูปร่างที่เขาวาดนั้นพิลึกกึกกือ มิใช่น้อย เลยบอกเขาไปว่าอย่าเสียเวลาเลยจะดูให้เห็นของจริง ๆ เครื่องดนตรีชนิดนี้เขาเรียกว่า "แคน" ถ้าอยากเห็นก็ไปเมืองไทยเถอะ จะเอาสักกี่ร้อยกี่พันก็ยังได้"
จากบันทึกที่ท่านศาตราจารย์ ดร.
จากบันทึกที่ท่านศาตราจารย์ ดร.
สำหรับชาวอีสานแล้ว ตั้งแต่เกิดมาก็ได้เห็นแคน และได้ยินเสียงอันไพเราะดั่งนกการเวก ด้วยท่วงทำนองที่หลากหลายมานานแล้ว จนได้ชื่อว่า เป็นเมืองหมอแคน แดนหมอลำ แน่แท้ นั่นเอง
|
แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะมาก การเป่าแคนใช้มือทั้งสองข้าง บังคับเสียงทำ ให้เสียงแคนที่ออกมานั้น มีทั้งทำนองเพลง เสียงประสาน เสียงสอดแทรก แสดงถึงอารมณ์ และ ความรู้สึกต่าง ๆ อย่างพร้อมมูลทีเดียว มีความสมบูรณ์ขนาดที่ว่า ถ้าใช้เครื่องดนตรีอื่น ๆ บรรเลง ก็ต้องใช้หลายเครื่องทีเดียว แต่แคนเพียงเต้าเดียวก็สามารถทำได้ ยิ่งถ้าได้นักเป่าแคนที่มีความ สามารถ มีความชำนิชำนาญ สามารถเป่าท่วงทำนองต่าง ๆ ซึ่งตามภาษาพื้นบ้านอีสานเรียกว่า "ลายแคน" ก็ยิ่งจะเพิ่มความไพเราะ ซาบซึ้งจับใจมากยิ่งขึ้น จนยากที่จะหาเครื่องดนตรีอื่น ๆ มาเทียบได้
แคนเป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสาน ทำจากไม้กู่ แคน แคนหนึ่งอันเรียกว่า แคนหนึ่งเต้า มีส่วนประกอบของแคนมีดังนี้
1. ลูกแคน คือไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเป็นแคน ทำจากไม้ซางซึ่งเป็นพืชตะกูลไม้ไผ่ลำเล็กๆ มีปล้องยาว ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ โดยนำมาลนไฟแล้วดัดให้ตรงขนาดยาวตั้งแต่แปดสิบเซนติเมตรถึงสามเมตร ไม้กู่แคนทุกลำทะลุข้อออกเพื่อให้ลมผ่าน ฝังลิ้นทองเหลืองหรือลิ้นเงินห่างจากปลายข้างบนประมาณ 50-
2. เต้าแคน คือปล้องตรงกลางแคน มีลักษณะกลมเป็นกระเปาะ หัวท้ายสอบ มีไว้เพื่อประกอบลูกแคนทุกลูกทำเข้าด้วยกันและหุ้มลิ้นลูกแคนไว้ เต้าแคนถูกเจาะรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งเซนติเมตรที่หัวเต้า เพื่อใช้ปากเป่าให้ลมผ่านลิ้นแคนทุกลิ้น ระหว่างเต้าแคนและลูกแคนนำขึ้สูดมาปิดให้แน่นป้องกันมิให้ลมที่เป่าเข้าไปนั้นรั่วออกมาข้างนอก ไม้ที่นิยมทำเต้าแคน คือไม้ประดู่ไหม ไม้พยุง ไม้แคนหรือไม้ตะเคียน ไม้หนามแท่ง ส่วนมากนิยมใช้ไม้ประดู่ส่วนที่เป็นราก
3. หลาบโลหะ คือแผ่นโลหะบางๆ ที่สกัดออกเป็นลิ้นแคน โดยมากใช้โลหะผสมระหว่างทองแดงกับเงิน ถ้าใช้แผ่นเงินบริสุทธิ์หรือทองแดงบริสุทธิ์จะทำให้อ่อนหรือแข็งจนเกินไปแผ่นโลหะแผ่นหนึ่งยาวประมาณสามเซนติเมตร กว้างประมาณ
4. ขี้สูตหรือชันโรง เป็นขี้ผึ้งเหนียวสีดำที่ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่งตัวเล็กกว่าผึ้งเรียกว่า แมลงขี้สูด คุณสมบัติของขี้ผึ้งชนิดนี้คือเหนียวไม่ติดมือและไม่แห้งกรอบ ขี้สูตใช้ผนึกช่องว่างระหว่างลูกแคนกับเต้าเพื่อไม่ให้ลมที่ผ่านเข้าทางปากรั่วไหลออกจากเต้า
การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน เริ่มจากเมื่อเตรียมลูกแคนและเต้าแคนเรียบร้อยแล้ว นำลูกแคนทั้งหมดสอดเข้าไปในเต้าแคนตามลำดับเป็นคู่กัน
คู่ที่หนึ่ง ด้านซ้ายเรียกว่า โป้ซ้าย ด้านขวา เรียกว่า โป้ขวา |
คู่ที่สอง ด้านซ้ายเรียกว่า แม่เวียงใหญ่ ด้านขวา เรียกว่า แม่เซ |
คู่ที่สาม ด้านซ้ายเรียกว่า แม่แก่ ด้านขวา เรียกว่า สะแนน |
คู่ที่สี่ ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยขวา ด้านขวาเรียกว่า ฮับทุ่ง |
คู่ที่ห้า ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยซ้าย ด้านขวาเรียกว่า ลูกเวียง |
คู่ที่หก ด้านซ้ายเรียกว่าสะแนนน้อย ด้านขวาเรียกว่า แก่นน้อย |
ประเภทของแคน
การแบ่งประเภทของแคนอาจแบ่งตามขนาดหรือแบ่งตามลักษณะการบรรเลงก็ได้ การแบ่งตามขนาดแบ่งเป็นสี่ชนิดคือ
การบรรเลงแคนปัจจุบันมีสามลักษณะ คือ ประเภทแคนเดี่ยว ประเภทแคนวง และประเภทแคนวงประยุกต์
1. แคนเดี่ยว ใช้บรรเลงประกอบลการลำซิ่ง หมอลำแบบดั้งเดิม ใช้เสียงแคนเท่านั้นเป่าประสาน การร้องหมอลำจะใช้แคนขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ก็ได้
2. แคนวง เป็นการบรรเลงหลายเต้าพร้อมกันโดยเป่าผสมกับเครื่องให้จังหวะ เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ จะใช้แคนขนาดใดก็ได้โดยใช้จำนวน 6-12 เต้า
3. แคนวงประยุกต์ เป็นการนำแคนไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลประเภทกลองชุด เบส กีต้าร์ ออร์แกน อิเล็กโทน หรือ บางครั้งก็นำเอาดนตรีไทย เช่น ซอ ขิม จะเข้ เข้ามาประกอบ การบรรเลงชนิดนี้ประกอบการร้องเพลงไทยสากลและเพลงลูกทุ่งมีหางเครื่องเต้นโชว์ประกอบหรือบรรเลงประกอบการแสดงหมอลำหมู่และหมอลำซิ่ง
การเก็บรักษาแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ทำจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น วัสดุที่ใช้ประกอบแคนค่อนข้างบอบบาง มีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่าย แคนจะอยู่ในสภาพดีหากเจ้าของเป่าเสมอต้นเสมอปลาย ปริมาณลมเข้าออกเท่าๆ กันทำให้ปลายลิ้นแคนไม่โก่ง การเก็บรักษาแคนควรเก็บไว้ในกล่องที่แข็งแรงหรืออาจเก็บไว้ในถุงผ้าที่ปิดได้สนิทกันแดดและฝุ่นได้ ไม่ควรเอาแคนไปจุ่มน้ำเพื่อทำความสะอาดลิ้นแคนจะเป็นสนิมได้ ควรใช้ผ้าสะอาดที่แห้งปัดฝุ่นหรือเช็ดลิ้น
ผลงานอื่นๆ ของ ฮาทาเคะเมงูเระ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ฮาทาเคะเมงูเระ
ความคิดเห็น